วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ขนมไทย 4 ภาค

ขนมไทยประจำภาคเหนือ
          
ขนมไทยล้านนา ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม 




ตัวอย่างเช่น  







                   ข้าวแคบ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่มีวิธีทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ แต่การทำข้าวแคบ เป็นการนำเอาแผ่นแป้งไปตากแดดให้แห้ง ทำให้สุกโดยปิ้งหรือทอด นิยมเก็บไว้รับประทานในงานเทศกาลสำคัญ เช่น ปีใหม่เมือง งานบวชลูกแก้ว งานปอยหลวง (รัตนา พรหมพิชัย, ๒๕๔๒, หน้า ๘๐๙) ปัจจุบัน ยังนิยมรับประทานกันอยู่ มีขายทั่วไปในท้องตลาดในภาคเหนือตอนบน (ลัดดา กันทะจีน, สัมภาษณ์, ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๐)

 


 


                    ขนมเกลือ หรือเข้าหนมเกลือ (อ่านว่า เข้าหนมเกื๋อ) บ้างเรียกว่า ขนมขาว เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีแป้งและเกลือ ถ้าชอบหวาน ให้ใส่น้ำตาล ถ้าชอบกะทิ ก็ใส่ไปด้วยก็ได้ หรืออาจโรยงาดำลงไปด้วย มีคำพูดว่า เข้าหนมเกลือ เบื่อบ่าว เป็นคำพูดเชิงสัพยอกว่า หากไม่ชอบหนุ่มคนใด ถ้าเขามาพูดเกี้ยว ก็ให้สาวนั้นเอาเข้าหนมเกลือให้บ่าวหรือชายหนุ่มผู้นั้นกิน เพราะขนมเกลือมีแต่แป้ง กินมากจะแน่นท้อง จนอาจจะพูดอะไรไม่ออก และอาจกลับบ้านไปเลย (ทักษนันท์ อนรรฆพฤฒ, สัมภาษณ์, ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐; รัตนา พรหมพิชัย, ๒๕๔๒, หน้า ๘๒๑)






                     ข้าววิตู หรือข้าวเหนียวแดง บ้างเรียก เข้าอี่ทู หรือเข้าหมี่ตู วิธีการทำนำข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปตั้งไฟผสมกับน้ำอ้อย เมื่อกวนได้ที่แล้วจะนำมาใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วตัดเป็นชิ้นๆ โรยด้วยงาขาว บ้างรับประทานกับมะพร้าวขูด (รัตนา ไชยนันท์, สัมภาษณ์, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐)







                     ข้าวหนุกงา หรือข้าวคลุกงา ใช้งาขี้ม้อน (งาเม็ดกลมสีน้ำตาลเทา) โขลกกับเกลือ และข้าวนึ่งสุกใหม่ๆ ชาวล้านนานิยมทำข้าวหนุกงา ในช่วงฤดูหนาวเฉพาะในช่วงเช้า ซึ่งช่วงนั้นเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวใหม่







                       ขนมวง คือขนมที่ทำด้วยแป้งเป็นรูปวงกลมแบบเดียวกับขนมโดนัท มีน้ำอ้อยหยอดไปโดยรอบตามกึ่งกลางด้านบน ปัจจุบัน ไม่คอยมีขายในท้องตลาดในเมือง แต่มักจะพบในตลาดแถวชานเมือง (รัตนา พรหมพิชัย, ๒๕๔๒, หน้า ๘๒๔)







              ข้าวแต๋น เป็นขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ งานปอยลูกแก้ว และงานปอยหลวง ปัจจุบัน นิยมผสมน้ำแตงโมลงในข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว ก่อนนำมากดลงพิมพ์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและความหวานอร่อย (บัวจันทร์ นนทวาสี, สัมภาษณ์, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐)








             ขนมลิ้นหมา บ้างเรียกว่า เข้าหนมเปี่ยง หรือเข้าเปี่ยง เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียวดำนวดกับน้ำจนหนืดแต่ไม่เละ เติมเกลือให้มีรสเค็มเล็กน้อย บ้างใช้แป้งข้าวเหนียวสีขาวนวดกับน้ำอ้อยและเกลือให้มีรสหวานๆ เค็มๆ นำมะพร้าวขูดคลุกกับน้ำตาลทราย ช่วยให้ขนมอร่อย และน่ารับประทาน (รัตนา พรหมพิชัย, ๒๕๔๒, หน้า ๘๒๔; รัตนา ไชยนันท์, สัมภาษณ์, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐)





                ข้าวควบ หรือ ข้าวเกรียบว่าว บ้างเรียก ข้าวปอง เป็นขนมพื้นบ้านที่มีมาช้านาน มีกล่าวไว้ในวรรณกรรมล้านนา เรื่อง นางอุทรา ว่า นางร้าย คือแม่เลี้ยงนางอุทรา แกล้งป่วย โดยใช้ข้าวควบวางไว้ใต้ที่นอน เมื่อขยับจะเสียงดัง ให้เข้าใจว่ากระดูกนางผิดปกติ (รัตนา พรหมพิชัย, ๒๕๔๒, หน้า ๘๐๗)






                       เข้าหนมซะละอ่อน หรือบ้างเรียก เข้าหนมสาลาอ่อน เข้าหนมศิลาอ่อน หรือขนมถาด เป็นขนมที่ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า บ้างนิยมนำถั่วเขียวคั่วสุกบดโรยหน้าก่อนรับประทาน (รัตนา พรหมพิชัย, ๒๕๔๒, หน้า ๘๒๒)






             งาตำอ้อย เป็นขนมหวานของชาวไทยอง นิยมรับประทานในฤดูหนาว มีขายทั่วไปในท้องตลาด ประมาณ ๑๐-๒๐ ปีก่อน ปัจจุบันหาซี้อรับประทานยาก (เสาวภา ทาแก้ว, สัมภาษณ์, ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐)
 






ขนมไทยประจำภาคกลาง

               ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป




ตัวอย่าง








ข้าวตัง

                    
                         เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำมาจากข้วที่หุงสุดติดกระทะหรือหม้อ นำมาแซะออกให้เป็นแผ่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง ตัดเป็นแผ่นๆ นำไปทอดให้พองฟู ข้าวตังในสมัยโบราณคืดข้าวที่ติดก้อหม้อหรือกระทะ




ข้าวเหนียวมูล


               ข้าวเหนียวมูน เป็นอาหารที่คนไทยนิยมรับประทานกันมานานแล้ว แต่จะทำอย่างไรให้ ข้าวเหนียวมูนมีรสชาติอร่อย ซึ่งแต่ละเจ้าต่างจะมีเทคนิคการทำที่แตกต่างกันไป หากหัวใจของการทำข้าวเหนียวมูลจะไม่ต่างกันไ คือ ข้าวเหนียวมูลต้องมีรสชาติทั้งหวาน มัน และหอม และยังนิยมนำไปรับประทานได้หลกหลายแบบ อย่างเช่น ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง หน้าปลา หรือจะทานกับมะม่วงสุกก็ได้





ขนมลูกชุบ



                          ขนมลูกชุบ เป็นขนมที่มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม มีเสน่ห์จากความประณีตบรรจงของต้นตำรับชาววัง ซึ่งปัจจุบันนี้หาทานยากแล้ว เมื่อกล่าวถึงขั้นตอนการทำนั้นค่อนข้างยุ่งยาก แต่มีข้อดี คือต้นทุนนั้นต่ำมาก ซึ่งท่านสามารถสร้างมูลค่า ได้จากผลงานการปั้นขนมลูกชุบให้สวยงามนั่นเอง ฉะนั้นผู้ที่รักในการทำขนมลูกชุบนั้น จะต้องใช้ความอุตสาหะ และต้องอาศัยความประณีต อีกทั้งยังผสมผสานระหว่างศิลปะกับสมาธิอีกด้วย










ขนมหม้อแกง


                ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น




ขนมฝอยทอง


                    ฝอยทอง เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้กโดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่ เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส
                   ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. ๒๒๐๑-๒๒๖๕) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น










ขนมทองหยิบ



                        ทองหยิบ เป็นขนมโปรตุเกสทำจากแป้งผสมกับไข่ ตีให้แบนเป็นแผ่นกลมๆ และทำให้สุกในน้ำเดือดผสมกับน้ำตาลเคี่ยว แล้วจับจีบใส่ในถ้วย ทองหยิบเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยโดยท้าวทองกีบม้า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา










ขนมตาล


                ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล
             ในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

ขนมกล้วย


                 ขนมกล้วย เป็นขนมไทยที่ทำจากกล้วย แป้งข้าวเจ้า กะทิ และส่วนผสมอื่น ๆ แล้วจึงนำส่วนผสมใส่ในถ้วยตะไลเล็ก ๆ หรือห่อด้วยใบตอง แล้วจึงนำไปนึ่งก่อนที่จะโรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด
ขนมกล้วยให้รสชาติที่หอมหวานของกล้วยที่กำลังสุกงอมผสมกับความความหวานมันของกะทิ










ขนมไทยประจำภาคอีสาน


              เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง


ตัวอย่างเช่น



ข้าวจี่


                    ข้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น
                 ทางภาคเหนือ มีข้าวจี่เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพียงแต่จะเพิ่มกะทิเข้ามาด้วย เดือนสี่ทางเหนือซึ่งตรงกับราวๆเดือนมกราคมของภาคกลาง จะนำข้าวจี่กับข้าวหลามไปทำบุญตักบาตรเรียกว่าบุญข้าวจี่ข้าวหลาม
ประเทศลาวก็มีอาหารที่เรียกว่าข้าวจี่เช่นกัน ที่หลวงพระบางข้าวจี่คือขนมปังแท่งยาวๆแบบฝรั่งเศส นำมาผ่าซีก เสร็จแล้วนำไปใส่เครื่องเคียงต่างๆ เช่น แตงกวา ไข่เจียวตัดเป็นเส้นๆ หมูยอ หมูหยอง(คนลาวเรียกหมูฝอย)และปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ข่าวจี่ของลาวจะต่างจากข้าวจี่ทางภาคเหนือและอีสานของไทย








กระยาสารท


                กระยาสารท (อ่านว่า กระ-ยา-สาด) เป็นขนมหวานของไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทย และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่








ข้าวต้มมัด



                 ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัดเป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย
                ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียกข้าวต้มลูกโยนเป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วนข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย
                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวต้มมัดว่าข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก
                 






ขนมบายมะขาม

              
              การทำบายมะขามก็เอาข้าวเหนียวที่นึ่งมาใหม่ ๆ ร้อน ๆ ผสมกับมะขามหวาน หรือบางคนก็เอามะขามไปนึ่งก่อนให้นุ่ม แล้วเอามาบายกับข้าวเหนียว ถ้าชอบหวานมาก ๆแล้วมะขามไม่หวานพอก็มีบ้างที่เอาน้ำอ้อยก้อนประกบเข้าไปด้วย







 




ขนมไทยประจำภาคใต้

           
             ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น




ตัวอย่างเช่น




ขนมลา


                 ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดหฺมฺรับเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราชและ สงขลาโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ชาวนครศรีธรรมราชปรุงขนมลาขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า
ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก
           ขนมลา ให้โปรตีนจากแป้ง น้ำตาล และไข่แดง และมีส่วนประกอบของไขมันอยู่ ด้วย
เป็นขนมที่แสดงถึงศิลปะการผลิตที่ประณีตบรรจงอย่างยิ่งจากแป้งข้าวเจ้า ผสม น้ำผึ้ง แล้วค่อย ๆ ละเลงลงบนกระทะน้ำมันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราว ใยไหม และสอดสานกันเป็นร่างแห




ขนมพอง






            ขนมพอง เป็นขนมประเภทขนมหวานชนิดหนึ่งที่ใช้เรียกกันในท้องถิ่นของอำเภอสทิงพระ ใช้สำหรับประเพณีทำบุญสามรทเดือนสิบ ประเพณีตายายย่าน ทำโดยนำเข้าเหนียวนิ่งสุก อัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม แผ่นกลม ๆ หรือลูกกลม ๆ ตากแดดจนแห้ง แล้วนำมาทอด เมล็ดข้าวเหนียวจะฟูพอง จึงเรียก ขนมพอง




ขนมกงหรือขนมไข่ปลา



            ขนมไข่ปลา เรียกชื่อตามลักษณะขนมที่เหมือนไข่ปลา เป็นขนมที่มีทุกจังหวัดในภาคใต้ เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่นิยมทินในวันสารทเดือนสิบขนมไข่ปลา(ขนมกง)เป็นเสมือนเครื่องประดับ ใช้ตกแต่งร่างกาย และเชื่อกันว่าเมื่อรับเปรตนั้น เปรตบงตนมีนิ้สไม่ครบจะได้ใช้นิ้วสอดในช่องนำไปกินได้ขนมไข่ปลานิยมทำในเทศกาลทำบุญเดือนสิบ ใช้ใส่หมรับ (สำรับ) ถวายพระและตั้งเปรตร่วมกับขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า และขนมดีซัม(ขนมเจาะหู)